การเตรียมตัวเมื่อถูกฟ้องล้มละลาย

การเป็นบุคคลล้มละลาย
( ในบทความจะยกตัวอย่างจากการถูกฟ้องล้มละลายโดยกรมสรรพากร) การถูกฟ้องล้มละลายโดยสรรพากรจะขึ้นศาล ที่ศาลฟ้องล้มละลายกลางที่แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานครเท่านั้น

การถูกฟ้องล้มละลายมาจากการมีหนี้สินจำนวนมาก และไม่สามารถชำระคืนได้ จึงถูกเจ้าหนี้ฟ้องล้มละลาย โดยการจะถูกฟ้องนั้นมีหลักเกณท์ดังนี้
1. บุคคลธรรมดา ที่มีหนี้สินเกินหนึ่งล้านบาท
2. นิติบุคคล ที่มีหนี้สินเกินสองล้านบาท
3. เป็นผู้ที่เข้าข่ายมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่มีความสามารถที่จะชำระหนี้ได้

หมายเหตุ การค้างจ่ายภาษียอดหนี้สินที่ทางสรรพากรฟ้องนั้น ได้นำเอาเบี้ยปรับเงินเพิ่มมาคิดเป็นหนี้รวมที่ลูกหนี้ต้องจ่าย เช่น เรามีหนี้อยู่
990000 บาทซึงไม่ถึง 1 ล้าน(ไม่สามารถฟ้องล้มได้) แต่ทางสรรพากรไม่ได้คิดเช่นนั้น จะนำเบี้ยปรับเงินเพิ่มมาคิดด้วย

ก่อนที่จะถูกฟ้องล้มละลาย
ทางสรรพากรจะทำการตรวจสอบทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ว่ามีอะไรบ้างที่ลูกหนี้ถือครองอยู่ รวมถึงทรัพยฺสินที่ติดไฟแนนซ์ด้วย
ถ้าทางผู้ถูกฟ้องมีการถือครองทรัพย์สิน เช่นบ้าน ที่ดิน รถยนต์ บัญชีต่างๆในธนาคาร และอื่นๆ ทางเจ้าหนี้( กรมสรรพากร) สามารถทำการอายัติและยืดทรัพย์ได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งศาล

หมายเหตุ ไม่ว่าบ้าน ที่ดิน รถยนต์ จะติดไฟแนนซ์อยู่ก็ตาม สามารถอายัติและขายทอดตลาด เมื่อขายได้จะนำเงินจ่ายคืนไฟแนนซ์ในส่วนที่ค้าง และถ้าเหลือก็นำใช้หนี้ให้สรรพากรสุดท้ายแล้วถ้ายังมีเงินเหลือหลังจากใช้หนี้ทั้งหมดแล้วจึงจะส่งคืนให้ลูกหนี้

การเป็นบุคคลล้มละลายมีผลอย่างไรกับชีวิตประจำวัน
1.ไม่สามารถทำนิติกรรม นิติกรรมสัญญาใดๆได้ทั้งสิ้นและการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินต่างๆ รวมถึงธุรกรรมทางการเงินเช่นเปิดบัญชีธนาคาร
2. ไม่สามารถดำรงตำแหน่งใดๆในบริษัทห้างร้านต่างๆ ยกเว้นแต่จะต้องได้รับอนุญาติจากศาลเสียก่อนจึงสามารถดำรงตำแหน่งได้
3. เมื่อลูกหนี้มีรายได้เข้ามาต้องทำการนำส่งเงินให้เจ้าหนี้ตามตกลง
4.ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ หากมีความจำเป็นต้องเดินทางจริงๆ ก็ทำการขออนุญาตจากพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สินก่อน โดยต้องแจ้งว่าจะไปที่ไหน ระยะเวลา จะมีรายได้เท่าไหร่และจะต้องนำส่งรายได้ ส่วนการจะอนุญาตหรือไม่นั้นอยู่ที่ดุจพินิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากได้รับอนุญาตให้ออกนอกประเทศจะต้องทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทุกๆ 6 เดือน พร้อมทั้งส่งรายได้ตามที่ตกลงเข้ากองอายัติทรัพย์สินด้วย

ระยะเวลาในการถูกฟ้องล้มละลาย

1.จะมีระยะ 3 ปีเมิ่อครบกำหนดก็จะถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ยกเว้นไม่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหนี้ ก็อาจจะมีกาขยายเวลาไป 5 ปีหรือ 10 ปี
2.เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 3 ปีให้บุคคลล้มละลายติดต่อเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์สินเพื่อขอปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
3.หลังจากถูกปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายแล้วก็สามารถทำธุรกรรมต่างๆได้ตามปกติ รวมถึงหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งปวงด้วย ยกเว้นแต่หนี้สินที่เกี่ยวข้องกับภาษีอากรหรือหนี้สินที่เกิดจากการทุจริตฉ้อโกงตามพระราชบัญญัติ มาตรา 81/1

สุดท้ายถึงแม้ว่าการเป็นบคคลล้มละลายสามารถเกิดได้กับทุกคนทุกอาชีพก็ตาม แต่ถ้าเรามีการวางแผน มีวินัยในการบริหารเงิน รายรับและรายจ่ายรวมถึงบริหารหนี้สินที่ดี และสำหรับบริษัท ห้างร้าน(ขนาดเล็ก)ก็ต้องรอบครอบในการทำบัญชี การจ่ายภาษี ( ซึงการจ่ายภาษีขอให้เป็นอันดับแรกของการจ่ายหนี้สินทั้งหมด)

บทความนี้อาจมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยเพราะเกิดจากประสบการ์ณจริงที่ผู้เขียนได้ศีกษามาและขอให้ผู้ที่ถูกฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายใช้ชีวิตทุกวันอย่างมีสติ รอบครอบ และนำมาเป็นบทเรียนในการใช้ชีวิตต่อไป

” จงอยู่กับความทุกข์ให้มีความสุขและจงอยู่กับความสุขให้มีความสุขเช่นกัน”
สู้ สู้ค่ะ ✌✌

Scroll to Top