การศึกษา

ใช้วัดเกรดอะไร

ผลการเรียน หรือ “เกรด”ไม่ได้ใช้วัดผลความสำเร็จของชีวิตคน และไม่ควรมีคุณค่าใช้วัดความเก่งของใคร เกรดเป็นแค่ตัวสะท้อนวิธีการทำงานตัวหนึ่ง แต่เกรดยังคงเป็นเรื่องดีและจำเป็นในบางมุม เช่น บางคนใช้ในการขอทุนเรียนต่อ บางที่เข้าทำงานต้องใช้เกรด เมื่อความสำเร็จในการศึกษามองกันที่เกรดเพียงอย่างเดียว โรงเรียนกวดวิชาต่างเน้นจุดเด่นของตัวเองว่า “เมื่อเรียนแล้วจะทำให้คุณทำคะแนนได้ดีมากขึ้น หรือได้เกรดดีขึ้นแน่นอน ซึ่งนี่คือการสะท้อนว่า “คนที่ไปเรียนกวดวิชา ก็ไปเรียนเพื่ออยากได้คะแนนและเกรดดีขึ้นไม่ใช่เพื่อความรู้ ” แอบเศร้า” เช่นเดียวกันคนที่ได้เกรดดีจะถูกมองว่าเป็นเด็กเก่ง มีเสียงปรบมือ ชื่นชม ได้เกียรติบัตร ในขณะที่เด็กเกรดแย่จะถูกมองว่าไม่เก่ง โง่ และอีกหลายๆคำพูดที่บั่นทอนจิตใจเด็ก ความคิดส่วนตัวนะคะ จริงๆแล้วเด็กไม่จำเป็นต้องสนใจเกรด แต่ไม่ได้แปลว่าไม่ต้องมุ่งมั่นกับการเรียนนะคะ เด็กทุกคนควรตั้งใจ ใส่ใจและมีความอดทนที่จะฝึกฝน ยิ่งยากยิ่งต้องฝึก นี้คือสิ่งที่เด็กทุกคนต้องมีติดตัว และที่สำคัญพ่อแม่ควรเน้นสอนให้เด็ก ตั้งเป้าหมายในชีวิตของตนเองและไม่แทรกแซงความฝันของเขา นั่นหมายความว่าเด็กควรจะต้องทำหรือเป็นในสิ่งที่เขาถนัดและชอบ วิชาการหลายๆอย่างที่เด็กไม่ถนัดมันอาจไม่ใช่ความฝันและเป้าหมายของเขาแต่เราสามารถใช้วิชาเหล่านั้นมาเพื่อ “ฝึกตั้งเป้าหมายและวางแผนการเรียน” เกรดมีความหมายก็เพียงแค่อีกหนึ่งตัวช่วยสำหรับใช้มองดูและสะท้อนการทำงานของเด็กแต่ละคนเท่านั้น เกรดไม่ได้มีคุณค่าขนาดชี้วัดค่าความเก่งของใคร เพราะวิชาการเรียน การสอนของแต่ละโรงเรียนแตกต่างกัน ยิ่งเด็กต่างโรงเรียนกันอย่าเอาเกรดมาเทียบกันโดยเด็ดขาด และในปัจจุบันมีวิธีอีกมากมายที่จะทำให้ได้เกรดดีๆ เช่น หาโพยข้อสอบ เรียนพิเศษที่เน้นข้อสอบตรง ติวเพิ่มเกรดโดยเฉพาะ และอีกมากมายหลายวิธี(ทุกอย่างคือธุรกิจ) ในฐานะที่ตนเองก็เป็นแม่คนหนึ่งที่มีลูก แม่ให้ความสำคัญกับเรื่อง ความฉลาดด้านการเข้าใจตนเองและการเข้าใจคนอื่น และคอยชี้นำเป้าหมายและอนาคตข้างหน้าของลูก ว่าลูกจะไปอยู่ตรงจุดไหนของชีวิต และจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้อย่างไร สิ่งที่ผู้ปกครองต้องมีให้ลูกทุกวัน […]

ใช้วัดเกรดอะไร Read More »

เด็กจำเป็นต้องเรียนหนักจริงหรือ

ปัจจุบันการศึกษาไทยมีการแข่งขันกันสูงตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย ผู้ปกครองทุกคนต้องการให้ลูกของตนเองได้เรียนได้ศึกษาในโรงเรียนที่ดีมีชื่อเสียง จึงจำเป็นต้องให้ลูกเรียนอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นการเรียนในโรงเรียนวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ต่อด้วยการเรียนพิเศษตอนเย็นวันเสาร์เรียนพิเศษที่โรงเรียน วันอาทิตย์เรียนกวดวิชาตามห้างหรือสถานที่ต่างๆ “วันไหนคือวันหยุดของลูกๆคะ” ผู้ปกครองได้เคยสอบถามเด็กๆหรือไม่ว่าต้องการอยากเรียนหนักขนาดนั้นหรือไม่ หรือว่าเป็นความต้องการของผู้ปกครองเอง เพราะกลัวอายเพื่อนอายสังคมเวลามีใครถามว่าลูกเรียนที่ไหนเรียนเก่งไหม ได้เกรดเท่าไหร่ นี่คือการคุยกันของผู้ปกครองในยุคปัจจุบันเวลาเข้าสังคมและเจอเพื่อน (พ่อแม่อายหรือเด็กอยากเรียน?) จึงทำให้ความกดดันนั้นมาตกที่เด็ก ว่าจำเป็นต้องเรียนหนัก จำเป็นต้องอ่านหนัก แต่ถ้าเป็นความต้องการของเด็กที่จะเรียนเองผู้ปกครองควรสนับสนุนอย่างเต็มที่ การศึกษาที่ดี คือ การเรียนรู้อย่างมีความสุข บทบาทของพ่อแม่ที่จะส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้อย่างมีความสุข 1.รักและเข้าใจ แน่นอนความรักของพ่อแม่ทุกคนยิ่งใหญ่เสมอ แต่รักและเข้าใจยิ่งใหญ่กว่า พ่อแม่ควรเป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา และสนับสนุน ให้ลูกได้ศึกษาและค้นหาในสิ่งที่ลูกชอบด้วยตัวเอง ที่สำคัญพ่อแม่ไม่ควรที่จะตัดสินใจว่าลูกควรเรียนอะไร หรือควรเป็นอะไร 2.ให้มองลูกที่ความสามารถว่าเขามีความสามารถในด้านใด พ่อแม่ควรคอยพูดคุย สังเกต และนำมาคิด วิเคราะห์ จะทำให้พ่อแม่เห็นภาพความเป็นจริงของลูก ว่าต้องการหรือสนใจอะไร ถนัดในด้านไหน เพราะเด็กทุกคนบนโลกนี้ไม่จำเป็นต้องเก่งเหมือนกัน เรียนหนักเหมือนกัน เพราะความสามารถของเด็กแต่ละคนแตกต่างกัน มีมากมายหลายอาชีพให้เด็กๆได้เลือกเป็น บางอาชีพไม่จำเป็นต้องเรียนหนัก บางอาชีพต้องเรียนหนักมาก พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้เลือกเอง 3.ร่วมกันวางแผน นี่คือสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ควรเรียนรู้ว่าลูกชอบอะไร ไม่ชอบอะไร และคอยช่วยแนะนำเขาไปในทิศทางที่เขาถนัด เช่นลูกชอบกีฬา ก็ควรหาประสบการ์ณเพิ่มเติมให้กับเขา 4.ให้ความช่วยเหลือ พ่อแม่ควรให้ความช่วยเหลือลูกตามที่เขาต้องการ ด้วยความเข้าใจ สนใจ

เด็กจำเป็นต้องเรียนหนักจริงหรือ Read More »

ชื่อเต็มของพระมหากษัตริย์ไทย (รัชกาลที่ 1-10)

รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัยสมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรปรมาธิเบศร โลกเชฎวิสุทธิ์ รัตนมงกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว _____________________________________________ รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันตอกนิษฐ ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์ ภูมิทรปรมาธิเบศโลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว _____________________________________________ รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร์ สยามินทรวิโรดม บรมธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว _____________________________________________ รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎสุทธิ

ชื่อเต็มของพระมหากษัตริย์ไทย (รัชกาลที่ 1-10) Read More »

Scroll to Top