ขั้นตอนการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี

เหตุผลใดหรือทำไมต้องทำการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดี บ้านหรือคอนโดราคาถูกกว่าท้องตลาดเหมาะสำหรับผู้ที่สนใจที่จะชื้อบ้านหรือคอนโดมือสอง ราคาเบาๆ รวมถึงการประมูลบ้านของตนเองที่ถูกยืดและขายทอดตลาดโดยกรมบังคับดคี เมื่อถึงเวลาต้องชื้อบ้านด้วยวิธีนี้ ก็จะช่วยให้ผู้ชื้อสามารถประมูลบ้านที่หลุดจำนองจากกรมบังคับคดีได้คล่องมากขึ้นมารู้จักกับการประมูลบ้านจากกรมบังคับคดีเมื่อลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้ฟ้องร้อง ทรัพย์สินของลูกหนี้ก็จะต้องถูกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปชดใช้หนี้ กรมบังคับคดีจึงมีหน้าที่นำบ้านหรือคอนโดออกประมูลขายตามคำตัดสินของศาล บ้านหรือคอนโดที่ถูกขายโดยกรมบังคับคดีมีจุดประสงค์ในขายเพื่อชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้เป็นหลัก ดังนั้นราคาเปิดประมูลจึงมักจะต่ำกว่าราคาบ้านที่ขายในท้องตลาดมากพอสมควรเรามาเริ่มขั้นตอนการเตรียมตัวประมูลบ้านจากกรมบังคับคดีกันเลยดีกว่าค่ะ

1.ค้นหาบ้านที่ต้องการประมูลสามารถค้นหาได้จากเว็บไซต์กรมบังคับคดีเมื่อเจอบ้านที่ถูกใจ ก็ควรที่จะไปตรวจสอบสภาพบ้านด้วยตนเอง และสอบถามเงื่อนไขการประมูลได้ที่สายด่วนกรมบังคับคดี โทร.0-2881-4999

2.เตรียมเอกสารและเงินประกันใช้เพียงบัตรประชาชนพร้อมสำเนา สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ประมูลแทนได้ โดยต้องใช้หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ 30 บาทพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบ ส่วนเงินประกันผู้ประมูลต้องเตรียมเงินสดหรือแคชเชียร์เช็คตามเงินประกันที่กรมบังคับคดีกำหนด

3.ผู้ประมูลเข้าลงทะเบียนในวันประมูล ผู้ประมูลต้องลงทะเบียนกับเจ้าพนักงาน พร้อมวางเงินสดเป็นหลักประกันและทำสัญญาในการเสนอราคา จากนั้นรับป้ายประมูลและเข้าไปนั่งในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้

4.เจ้าพนักงานกำหนดราคาเริ่มต้นก่อนเริ่มการประมูลพนักงานจะอธิบายเงื่อนไขต่างๆในการประมูลให้ทราบ และจะทำการกำหนดราคาเริ่มต้นในการประมูลรอบที่1 แต่ถ้าไม่มีผู้เสนอราคาในรอบนั้น ราคาเริ่มต้นรอบ 2 จะลดเหลือ 90%และรอบที่3 ลดเหลือ 80%และรอบที่ 4 ลดเหลือ 70% หรือจนกว่าจะมีผู้ประมูล

5.ผู้ประมูลยกป้ายเสนาราคาเมื่อเจ้าพนักงานเปิดประมูล ผู้ที่สนใจสามารถยกป้ายเพื่อขอเสนอราคาตามราคาเริ่มต้นหรือยกป้ายสู้ราคากับผู้ประมูลท่านอื่น โดยพนักงานจะเป็นผู้กำหนดว่าจะเพิ่มราคาครั้งละเท่าใด และผู้ประมูลสามารถเพิ่มราคาได้เท่ากับหรือมากกว่าที่กำหนดก็ได้

6.เจ้าพนักงานเคาะไม้ให้ผู้ชนะการประมูลเมื่อบ้านถูกประมูลจนได้ราคาสูงสุด เจ้าพนักงานก็จะถามหาผู้คัดค้านจากฝ่ายที่เป็นผู้ได้เสียหายหากไม่มีผู้คัดค้าน เจ้าพนักงานก็จะเคาะไม้ขายบ้านหลังนั้นให้ผู้ชนะการประมูล ผู้ชนะการประมูลต้องทำการชำระเงินและโอนกรรมสิทธิ์ในขั้นตอนต่อไป ส่วนผู้แพ้ประมูลก็รับเงินประกันคืนทันที

7.ทำสัญญาชื้อขายผู้ชนะประมูลบ้านจากกรมบังคับคดีต้องทำสัญญาชื้อขายและชำระเงินตามราคาประมูล ณ วันที่ชื้อ แต่ในกรณีที่ผู้ชนะประมูลอยู่ในระหว่างรวบรวมเงินหรือรออนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร กรมบังคับคดีจะให้เวลา 15-90 วันโดยต้องมีเหตุผลสมควรหรือมีเอกสารยืนยันจากธนาคาร ส่วนเงินประกันหรือมัดจำไม่สามารถขอคืนได้

8.การโอนกรรมสิทธิ์หลังจากชำระเงินเรียบร้อย เจ้าพนักงานกรมบังคับคดีจะมีหนังสือถึงเจ้าพนักงานกรมที่ดิน พร้อมมอบเอกสารสิทธิ์และเอกสารเกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ชนะการประมูลดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ได้ด้วยตัวเอง ณ สำนักงานกรมที่ดิน

9.ค่าใช้จ่ายต่างๆในการโอนกรรมสิทธิ์ทั้งหมด รวมถึงค่าใช้จ่ายผู้ขาย มีดังนี้*ค่าโอนกรรมสิทธิ์ร้อยละ 2 ของราคาประเมิน*ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คิดตามฐานภาษีอัตราก้าวหน้า*ภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3.3 หรืออากรแสตมป์ร้อยละ 0.5 ตามเงื่อนไขการครอบครอง*ค่าจดจำนองร้อยละ 1 ของวงเงินกู้ในกรณีที่ผู้ชนะประมูลขอกู้บ้านกับธนาคาร

ทั้งหมดที่กล่าวมาก็คือขั้นตอนและสิ่งต่างๆที่ควรรู้เกี่ยวกับการประมูลบ้านและคอนโดมือสองจากกรมบังคับคดี เผื่อท่านใดได้มีโอกาสที่จะต้องการชื้อบ้านและคอนโดมือสองในราคาถูกกว่าในท้องตลาด และถ้าได้สภาพบ้านที่ยังดีอยู่ ผู้ชื้อก็ยิ่งประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นอีกด้วย หรือแม้แต่ผู้ที่ถูกยืดบ้านก็สามารถที่จะประมูลบ้านของตนเองกลับคืนมาในราคาถูกได้อีกด้วยค่ะ

Scroll to Top